วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ตำแหน่งบาสเก็ตบอล

ตำแหน่งบาสเก็ตบอลมี5ตำแหน่งดังนี้
เซ็นเตอร์ (C) : มักเป็นผู้เล่นตัวสูงที่สุดในทีมและให้ดีต้องมีกล้ามเป็นมัดๆและมีน้ำหนักตัวมากอีกด้วย                           ใช้ความได้เปรียบของร่างกายทำแต้ม หรือ ป้องกัน บริเวณใต้ห่วง

พาวเวอร์ฟอร์เวิร์ด (PF) : จะเล่นคล้ายกับเซนเตอร์ เวลาบุกจะหันหลังให้แป้น และเมื่อเล่นเกมรับ แบบ                                            แมน ทู แมน จะยื้นใต้ห่วง

สมอฟอร์เวิร์ด (SF) : เป็นคนทำแต้มให้ทีม หรือ บางทีอาจจะได้เป็นคนรับผิดชอบการส่งบาสด้วย

พอยต์การ์ด (PG) : ดูแลการบุกของทีมโดยควบคุมลูกและส่งลูก ไปยังผู้เล่นที่เหมาะสมในเวลาที่                                      เหมาะสม และ เป็นคนนำลูกไปยังฝ่ายตรงข้ามเมื่อเวลาบุก

ชู้ตติ้งการ์ด (SG) : ชู้ตระยะไกลได้ดี และ สามารถทำคะแนนใกล้แป้นได้อีกด้วย

เกี่ยวกับบาสเก็ตบอล

บาสเก็ตบอล เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน  บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล
เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชู้ต การส่ง และ การเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย

ทักษะการเลี้ยงบาส


กติกาการเล่นบาสเก็ตบอล


กติกาบาสเก็ตบอล 13 ข้อ 

1. ห้ามผู้เล่นถือลูกบอลวิ่ง

2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใหนก็ได้ จะใช้มือเดียว-สองมือก็ได้

3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใหนก็ได้ จะใช้มือเดียว-สองมือก็ได้

4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองข้างครอบครองบอล และห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล

5. ในการเล่นห้ามใช้ไหล่กระแทก ห้ามใช้มือดึง ห้ามผลัก ห้ามตี หรือห้ามกระทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลง ถ้าผู้เล่นยังฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ครบ 2 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถทำประตูได้จึงกลับมาเล่นได้อีกครั้ง หากเกิดการบาดเจ็บในการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนผู้เล่น

6. ห้ามใช้ขา-เท้าแตะลูก ถ้าฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง

7. ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำฟาวล์ติดกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู

8. ประตูที่สามารถทำได้หรือนับว่าได้ประตู จะต้องเป็นการโยนบอลให้ลงในตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งกับประตูไม่ได้โดยเด็ดขาด

9. เมื่อถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำลูกออกนอกสนาม อีกฝ่ายหนึ่งต้องส่งลูกเข้ามาในสนามจากขอบสนามภายใน 5 วินาที หากเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และหากผู้เล่นฝ่ายใดก็ตามพยายามถ่วงเวลาให้ปรับเป็นฟาวล์

10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดทำฟาวล์ และมีหน้าที่ลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์การเล่น

11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดที่ออกนอกสนาม และฝ่ายใดควรเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าสนาม และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลา,บันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่โดยทั่วไปตามวิสัยผู้ตัดสิน

12. การเล่นนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที

13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ แต่ในกรณีที่คะแนนเท่ากันให้ทำการต่อเวลาออกไปอีก ฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะถือว่าเป็นฝ่ายชนะ